วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน




               ในปัจจุบันสังคมของประเทศก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารของโลกสมัยใหม่แพร่กระจายสู่สังคมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกได้ครอบงำวิถีชีวิตของวัยรุ่นไทยจำนวนไม่ น้อยทั้งในด้านการรับประทานอาหารฟาสท์ฟูด การแต่งกาย การคบเพื่อนต่างเพศ สังคมของวัยรุ่นไทยกลายเป็นสังคมบริโภคที่แทบจะไม่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

เด็กและเยาวชนถือเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต  แต่ในสภาพสังคมไทยปัจจุบันมีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลกระทบที่เป็นปัญหาและ อุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย  พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในปัจจุบันนี้ ออกนอกกรอบดั้งเดิมมากขึ้นทุกที เช่น การเลือกคู่ครอง จะถือเอา ความรัก เป็นสำคัญ ไม่ชอบการคลุมถุงชน การคบเพื่อนต่างเพศ เป็นไปอย่างอิสรเสรี เพราะเห็นว่า ไม่ใช่เรื่อง น่าละอาย หญิงสาวให้ความสำคัญในการครองตัว เป็นหญิงพรหมจรรย์ถึงวันแต่งงานน้อยลง ประกอบกับ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรืองเพศ ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การมี เพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควร การสำส่อนทางเพศ การเบี่ยงเบนทางเพศ เช่นการรักร่วมเพศ เป็นต้น และเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และปัญหาการทำแท้ง

สาเหตุของปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันอันควร

1. ปัจจัยด้านพันธุกรรม  พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจของวัยรุ่น  การเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะฮอร์โมนในร่างกาย มีผลกระตุ้นให้มีความสนใจกับเพศตรงข้าม รวมทั้งแรงขับตามธรรมชาติ ที่ทำให้ใคร่รู้ ใคร่ลอง ในเรื่องเพศ จนทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั่งใจขึ้น

2. เริ่มต้นตั้งแต่การแต่งตัวที่เปิดเผยมากเสื้อที่เปิดให้เห็นเนินอกมากเกินไป เสื้อที่เปิดสะดือ กางเกงที่รัดมากเกินไป เน้นส่วนสัดชัดเจนเกินไป

3. วัยรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่มีแฟนหรือคนรักหากไม่รู้จักการปฏิเสธเมื่อถูกขอ มีค่านิยมสมัยใหม่ที่ผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศ คือเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ และการมีเพศสัมพันธ์กันตามกระแสวันสำคัญ

4. การอยู่หอพัก    อยู่ห่างจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง การเที่ยวในสถานเริงรมย์ การเที่ยวงานปาร์ตี้ การเที่ยวต่างจังหวัด มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติดจนทำให้ขาดสติ

5. การอยู่ด้วยกันสองต่อสองระหว่างชายหญิงในที่ลับตาคน และในบรรยากาศที่จะนำไปสู่การมีเพสสัมพันธ์ได้

6. สถาบันครอบครัวและศาสนา ที่ปัจจุบันได้อ่อนแอลง เด็กได้รับความอบอุ่นจากครอบครัวน้อยจากที่พ่อแม่ต้องวุ่นกับการทำงานเพื่อหาเงินเลี้ยงลูก หรือบางครอบครัวพ่อแม่มีปัญหาหย่าร้างต้องแยกทางกันทำให้เด็กต้องออกไปหาความอบอุ่นจากเพื่อนและแฟน ซึ่งถือเป็นเรื่องเสี่ยงที่ทำให้เด็กกกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมได้  นอกจากนี้เด็กในยุคปัจจุบันยังห่างไกลวัดไม่เคยไปทำบุญไหว้พระ เด็กจึงไม่รู้จักสิ่งผิดชอบชั่วดี เพราะขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

7. เรื่องเพศได้ถูกนำเสนอออกมาทางสื่อต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งยังไม่นับรวมกับสื่อลามกที่มีอยู่เกลื่อนหาซื้อได้ง่าย ทำให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น

8. สภาพสังคมที่ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ผู้ชายหมกมุ่นและมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นจากสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ทำให้ต้องมาลงกับเพศหญิง จนเป็นเหตุให้เกิดการคุกคามทางเพศ รุมโทรม และการข่มขืน และจากประเด็นนี้ทำให้ผู้ชายเกิดการเรียกร้องจากฝ่ายหญิง ซึ่งจะเป็นเหตุที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนเวลาอันควร

9. ปัญหาการขาดการอบรมกล่อมเกลาขาดความใกล้ชิดสนิทสนม ทั้งจากครอบครัวทั้งจากสังคมแวดล้อมจากสังคม เช่น สนามกีฬาที่ออกกำลังกายไม่มี ที่พักผ่อนหย่อนใจไม่มี ที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจไม่มีโดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆไม่มีสิ่งเหล่านี้ ด้านครอบครัวเช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก ไม่เคยใกล้ชิดลูก ไม่เคยแนะนำกล่อมเกลาหรือเป็นตัวอย่างที่ดี เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของการขาดความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการสืบทอดความคิด ความเชื่อ ประเพณี แนวปฏิบัติต่อตนเองและสังคม

10. สภาพแวดล้อม เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี พบเห็นสิ่งที่ไม่ดี เช่น การเห็นคนรอบข้างหรือเห็นคนที่อยู่ในชุมชนเดียวกันมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย ก็จะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง และการเห็นบ่อยๆ จนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เด็กก็จะมีค่านิยมที่ผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ

11. สื่อต่างๆ  การได้รับสื่อที่ยั่วยุ ส่งเสริมการมีพฤติกรรมทางเพศ เรื่องเพศได้ถูกนำเสนอออกมาทางสื่อ   ต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งยังไม่นับรวมกับสื่อลามกที่มีอยู่เกลื่อนหาซื้อได้ง่าย ทำให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น

12. การเลียนแบบพฤติกรรมตามกระแสตะวันตก  อาทิ การจับคู่อยู่กิน  การทำสถิตินอนกับผู้ชาย การมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน

13. วัยรุ่นมักหลงอยู่กับวัตถุนิยมมากเกินไป และชอบตามเพื่อน เมื่อตัวเองไม่ได้ก็ต้องไขว่คว้าหาวิธีการที่จะได้สิ่งของที่ตนเองต้องการวัยรุ่นก็ต้องหาวิธีการที่จะได้สิ่งของนั้นมาให้ได้เร็วที่สุด นั่นคือการมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่ยอมเสียตัวเพื่อแลกกับการได้เงิน

โทษข้อของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

1. ท้อง และแท้ง ยิ่งในวัยเรียนการได้รับปริญญาใจก่อนกำหนด 4 ปีการศึกษานั้น มันทำลายชีวิตมากพอตัวเชียวนะ มีน้อยคนที่จะทนอุ้มท้องไปนั่งร่วมชั้นเรียนกับเพื่อ น และเชื่อเลยว่าคงไม่มีสถานศึกษาใดสนับสนุนด้วย เมื่อชีวิตของการเป็นแม่เริ่มต้นขึ้น ความพร้อมสำหรับทารกน้อยๆ ย่อมคลุกคลัก ปัญหาปากท้องและสังคมก็จะตามมาทีหลัง ส่วนใครที่ไม่เกรงต่อบาปยืนยันว่าฉันจะทำแท้งนั่นก็เท่ากับว่าทำร้ายตัวเองไปเสียแล้ว แต่ถ้ามั่นใจว่า “ฉันไม่ท้องหรอกย่ะ ป้องกันดี” จากการวิจัยระบุว่าแม้จะมีการใช้ถุงยางอนามัยก็ยังมี โอกาสพลาดได้สูงถึง 21% เนื่องจากคุณภาพของถุงยางเสื่อมหรือใช้ไม่ถูกต้องและ การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดก็มีโอกาสพลาดได้สูงถึง 5%

2. ซึมเศร้า เพราะวัยรุ่นยังไม่ใช่วัยที่จะตั้งรากปักฐานกับใครผู้ใด ยังเป็นวัยแห่งการแสวง เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนคู่นอนจึงเกิดเสมอๆ การซึมเศร้าที่เกิดจากขาดความรักที่ยั่งยืนอาจเกาะกินหัวใจคนเราได้

3. ติดโรค อันนี้น่ากลัวนะครับอย่างที่บอกในข้อ 2 ว่าวัยรุ่นเป็นเพียงวัยแสวงหาน้อยคนนักที่จะพบรักแท้ ยืนยาวเหมือนชีวิตคู่ผู้ใหญ่ การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ย่อมเกิดโรคตามมาแม้จะป้องกันก็ตาม

4. อาจทำให้เรียนซ้ำชั้นได้ เพราะมุ่งมั่นทำแต่คะแนนรักไม่สนใจการเรียน

5. เป็นขี้ปากชาวบ้าน โดยเฉพาะพวกขี้อิจฉา โดนนินทาว่าเสียตัวแล้วบ้าง เปลี่ยนแฟนอีกแล้ว โดนแฟนทิ้งอีกแล้วบ้าง สำหรับผู้ชายก็อาจจะเป็นที่รังเกียจของสาวดีๆ โดยข้อหานักล่าผู้หญิง หรือนักล่าพรหมจรรย์ ฟังดูน่ากลัวนะครับ แต่เชื่อเลยว่าใครที่อ่านถึงข้อนี้ หัวเราะชัวร์

6. เกิดการหมิ่นเกียรติกันและกันระหว่างชายหญิง ต่างฝ่ายมองว่าอีกฝ่ายเป็นเพียงตัวสนองความใคร่ ไม่มีรักแท้จีรัง ก่อนที่จะรู้จักกันอย่างแน่นแฟ้นเราอาจจะมองเขาในแง่ อื่นไปเสียแล้ว

7. ถูกหลอกซ้ำซาก เพราะเคยปล่อยตัวและใจให้คนก่อนและความต้องการรักแท้ เพราะฉะนั้นคำว่ารักก็อาจจะกลายเป็นแค่ตะขอเบ็ดเกี่ยวเยื่อเท่านั้น

8. ใคร่มากกว่ารัก วัยรุ่นอาจจะต้องการมีเพศสัมพันธ์มากกว่ารัก และเข้าใจคำว่ารักผิดไป สุดท้ายส่งผลให้ไม่เข้าใจกันในที่สุด

9. ผิดหวังในรัก เมื่อคนดีที่เหมาะกับเราเข้ามาในชีวิต เมื่อเขารู้เรื่องราวในอดีตก็อาจจะหลีกหายไปได้ หรือเราเองอาจจะรู้สึกผิดกับอดีตไม่กล้าสู้หน้าเขาหรือเธอคนนั้น จนกลายเป็นคำว่า เธอดีเกินไป หรือเธอไม่คู่ควรกับฉัน เพราะเธอมันช่ำชอง ไม่น่าไว้วางใจ

10. สร้างความร้าวฉานในชีวิตคู่ เรื่องราวในอดีตไม่สามารถลบมันได้ แม้เราจะพยายามลืมไปเท่าไหร่ก็ตาม เมื่อคู่ชีวิตล่วงรู้อดีตกาลของเราย่อมเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ชีวิตคู่จะมีความสุขได้อย่างไร แก้วเริ่มร้าวไม่นานก็แตก และไม่อาจประกอบได้ดั่งเดิม

การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

1. เรียนรู้ถึงความคิดต่างกันของหญิงชายในเรื่องเพศ

ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่มีความรัก ขณะที่ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์เพราะความรัก ผู้ชายมองการมีเพศสัมพันธ์ว่าเป็นการหาความสุขร่วมกันและไม่ต้องผูกพัน ขณะที่ผู้หญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับชายใดจะต้องการมีความผูกพันกับชายคนนั้น หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายไม่ได้คิดว่าจะต้องมีความผูกพันอะไรต่อไป ขณะที่ผู้หญิงคิดว่าเมื่อมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว เธอจะต้องมีความผูกพันกับชีวิตเขา จึงเรียกความรับผิดชอบจากผู้ชาย ความตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างชายหญิง จะเป็นการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งจะนำปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ยากแก่การแก้ไข

2. วัยรุ่นชายควรคิดเสมอว่าวัยรุ่นหญิงเป็นเพศเดียวกับแม่ พี่น้อง ควรช่วยเหลือและให้เกียรติ

3. ควรหลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัว เพราะอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิดได้

4. ควรหลีกเลี่ยงการไปพักค้างคืนร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือตามลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล

5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ด้วยกันตามลำพังในที่ลับตาคน

6. ควรหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่เปลี่ยว โรงแรมและสถานเริงรมย์ทุกรูปแบบ

7. ควรหลีกเลี่ยงการมีนัดหมายกับเพศตรงข้ามในยามวิกาล

8. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดทุกชนิด

9. วัยรุ่นหญิงควรแต่งกายเรียบร้อย และมิดชิด ไม่ควรแต่งกายในลักษณะที่ยั่วยุ ให้ผู้พบเห็นเกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น เสื้อสายเดี่ยว เสื้อเกาะอก กระโปรงสั้น และกางเกงรัดรูปเกินไป

10. หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนหรือออกเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศที่ไม่รู้จักดีพอ

11. ควรหลีกเลี่ยงการออกเที่ยวหรือเดินทางในยามวิกาล หรือการเดินทางในที่เปลี่ยว

12. วัยรุ่นชายหญิงควรวางตัวต่อกันอย่างสุภาพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่ควรมีการล่วงเกินทางเพศ หรือวางตัวสนิทสนมใกล้ชิดเกินไป

13. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ในสถานการณ์ที่เหมาะสม(การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง ใช้เป็นไม้ตายสุดท้าย ควรทำในที่ลับ และอย่าพร่ำเพรื่อจนเกินไป

ใบงาน
เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

                 ตอบคำถามพัฒนาการคิดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน จัดทำเป็นรายงานแล้วนำเสนอครูผู้สอน
                   1.      ปัญหาทางเพศของวัยรุ่นเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน  (พ 2.1 ม.2/2)
แนวคำตอบ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   2.      การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนสามารถป้องกันได้อย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน (พ 2.1 ม.2/2)
แนวคำตอบ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   3.      วิธีการในการช่วยแก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนทำได้อย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน (พ 2.1 ม.2/2)
แนวคำตอบ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                   4.      การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเกิดผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน  (พ 2.1 ม.2/2)
แนวคำตอบ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................



ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น


1.อิทธิพลที่เกิดจากตัวเอง
   1.1 พัฒนาการทางเพศ  การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของวัยรุ่น มีผลต่อแรงผลักทางเพศ บทบาททางเพศ และพฤติกรรมทางเพศ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากฮอร์โมนทางเพศและฮอร์โมนการเจริญเติบโต ทำให้วัยรุ่นแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไป
   1.2 สภาพจิตใจและอารมณ์  จิตใจและอารมณืของวัยรุ่น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย บางครั้งดี บางครั้งอารมณ์รุนแรง มีความขัดแย้ง ขณะเดียวกันมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
   1.3 ผลจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ  วัยรุ่นที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกกระทำทารุณทางเพศ ย่อมกระทบต่อวัยรุ่นทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ซึ่งเป็นผลต่อการดำเนินชีวิตในเรื่องเพศ ทั้งพฤติกรรมทางเพศ บทบาททางเพศและสัมพันธภาพทางเพศ
   1.4 ผลจากการใช้สารเสพติด  สารเสพติดทุกชนิดนอกจากมีผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมแล้ว สารเสพติดยังส่งผลกระทบโดยตรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ต่อผ้เสพ การใช้สารเสพติดจะเป็นการกระตุ้นอารมณ์ต่างๆรวมทั้งอารมณ์ทางเพศซึ่งมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางเพศ
   1.5 การขาดการนับถือตัวเอง  วัยรุ่นส่วนมากมักมีความเชื่อมั่นและความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสู ความรู้สึกว่าตนเป็นหนึ่ง อยากให้ผู้อื่นสนใจ ทำให้วัยรุ่นเลียนแบบบทบาททางเพศและพฤติกรรมทางเพศอย่างกว้างขวาง จนบางครั้งขาดการนับถือตนเองและนำไปสู่ปัญหาต่างๆ
   1.6 การไม่ยึดคุณธรรมจริยธรรม  วัยรุ่นสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม รู้จักแยกแยะความดี ความชั่วจากมโนธรรมของตนเอง โดยการเรียนรู้จากการปลูกฝังค่านิยม ทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว บุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรมจะเป็นที่รักใคร่ของคนอื่น สามารถอยู่มในสังคมและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
2.อิทธิพลที่เกิดจากครอบครัว
   2.1 ความสัมพันธ์ในครอบครัว
   2.2 องค์ประกอบของครอบครัว
   2.3 มาตรฐานในการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว
   อิทธิพลจากครอบครัว   ครอบครัวเป็นสถาบันที่ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูกซึ่งเป็นสถาบันแรกที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูและได้รับ ความรู้ต่างๆจากพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวถ้าครอบครัวใดที่พ่อแม่และ บุคคลในครอบครัวมีการศึกษาและ ถ่ายทอดสิ่งที่ ดีมีคุณค่ากับเด็ก  เด็กก็จะได้รับการซึมซับสิ่งที่ดีมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์  แต่เด็กที่ที่เกิดในครอบ ครัวที่เป็นแบบอย่างใน ทาง ตรงข้าม เช่น พ่อ แม่ หรือบุคคลในครอบครัวมีการศึกษาน้อย ยากจน พ่อแม่มีพฤติกรรม ที่ไม่ถูกต้อง เช่น พูดจาหยาบคาย ไม่สุภาพ และมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมเด็กก็จะ ซึมซับเอาพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนั้นมาเป็นพฤติกรรมของตนเอง
3.อิทธิพลที่เกิดจากเพื่อน
   3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเพศเดียวกัน
   3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่างเพศ
   เพื่อนเป็นคนที่ชอบพอรักใคร่ของเด็กที่อยู่ในวัยเดียวกัน   หรือ ใกล้เคียงกันมีรสนิยมและสน
ใจเรื่องต่างๆ  เหมือนกันเพื่อนจึงมีอิทธิพลอย่างมากทั้งทางดี และ ไม่ดีเด็กที่รู้จักคบเพื่อน ที่ดีมาจากครอบครัวที่เป็นแบบอย่างที่ดีเด็กก็จะ ได้เพื่อนที่ดชักชวนกันทำกิจกรมที่ดีมีประ
โยชน์ เช่น     รักเรียน ช่วยเหลือผู้อื่น อยู่ในกรอบระเบียบที่ดีของสังคม
4.อิทธิพลที่เกิดจากสังคมและวัฒนธรรม
   4.1 กลุ่มเพื่อน
   4.2 ฐานะทางเศรษฐกิจและการเมือง
   4.3 บรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรม
   4.4 สถานบันเทิง
   4.5 สื่อมวลชน
 อิทธิพลของสังคม
อิทธิพลของสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ มีดังนี้
   1) สถานภาพทางสังคม
  สถานภาพทางสังคมไทยปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางฐานะทาง
เศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.ทำให้มีภาวะคนตกงานช่องว่างระหว่างหารายได้ที่ได้รับระหว่างคนรวยและ
คนจนมีมากขึ้นการประกอบอาชีพบางอย่างจึงก่อให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ย
   2) สื่อมวลชน
 สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อกระแสแนวคิดและทศทางความเคลื่อนไหวในสังคมการเสนอข่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในทางที่เสื่อมเสีย เช่น การถูกข่มขืนที่ลงภาพผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออย่างชัดเจน พร้อมบอกรายละเอียด ต่างๆของการกระทำ
   3) อิทธิพลของวัฒนธรรม
 วัฒนธรรมหมายถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่คนสร้างขึ้นและปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยการถ่ายทอดไปสู่สมาชิก รุ่นต่อไป วัฒนธรรมจึงเป็นทุกส่งทุกอย่างที่สังคมสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน ในสังคมโดยมีความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของวัฒนธรรมในแต่ละสังคม


ใบงาน
เรื่อง ปัจจัยที่อิทธิพลต่อเจตคติในเรื่องเพศ



ตอบคำถามพัฒนาการคิดเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในเรื่องเพศ จัดทำเป็นใบงานแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                   1.      ครอบครัวมีอิทธิพลต่อเจตคติในเรื่องเพศอย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในเรื่องเพศ  (พ  2.1 ม.2/1)
แนวคำตอบ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   2.      วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อเจตคติเรื่องเพศอย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในเรื่องเพศ  (พ 2.1 ม.2/1)
แนวคำตอบ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   3.      เพื่อนมีอิทธิพลต่อเจตคติเรื่องเพศอย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในเรื่องเพศ  (พ 2.1 ม.2/1)
แนวคำตอบ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   4.      สื่อมีอิทธิพลต่อเจตคติเรื่องเพศอย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในเรื่องเพศ  (พ 2.1 ม.2/1)

แนวคำตอบ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ปัญหาสุขภาพจิต
 
สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตเป็นภาวะจิตใจที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนผสมผสานกัน ในทางจิตวิทยาเชื่อว่าปัญหาสุขภาพจิตมีสาเหตุแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มปัจจัยคือ
ปัจจัยภายในตัวบุคคล
แบ่งออก เป็น 2 ประการ ได้แก่
สาเหตุของร่างกาย
  ซึ่งมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยโครโมโซม (Chromosome) เช่นเดียวกับโรคเบาหวาน มะเร็งตับ และความพิการของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ในกลุ่มบิดา มารดา พี่น้องที่เคยเป็นโรคจิตมีโอกาสที่จะเป็นได้ร้อยละ 7-16 แต่ในคนทั่วไปจะเป็นโรคจิตเพียงร้อยละ 0.9 เท่านั้นหรือ คู่แฝดของผู้ป่วยโรคจิตจากไข่ใบเดียวกัน มีโอกาสเป็นโรคจิตด้วยร้อละ 70-90 นอกจากนี้ความเจ็บป่วยทางกาย ความพิการ หรือมีโรคเรื้อรังจะทำให้บุคคลนั้นมีอารมณ์แปรปรวน เกิดความวิตกกังวล ท้อแท้ คิดมาก มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ ดังนี้
โรคทางสมอง โรคทางสมองที่พบบ่อย ได้แก่
- ความเสื่อมของสมองตามวัย ( Senile dermentia )
- ความเสื่อมจากหลอดเลือดสมองตีบ ( Arteriosclerosis dermentia )
- การอักเสบของสมอง ( Encephalitis )
- เนื้องอกของสมอง ( Intracranial Neoplasm )
- สมองพิการจากซิฟิลิส ( Syphilis Meningoencephalitis )
พยาธิสภาพดังกล่าว ทำให้เซลล์ของสมองถูกทำลาย และเกิดความเสื่อมของเซลล์สมองอันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดปกติของจิต
สารจากต่อมไร้ท่อ สารจากต่อมต่าง ๆ ในร่างกายมีผลต่อร่างกาย เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism ) มีอาการหงุดหงิดกระวนกระวาย มีความเครียด มีอาการซึมเศร้าและเฉื่อยชา ความจำเสื่อมเมื่ออาการทางจิตเป็นมาก อาจกลายเป็นโรคจิตหรือโรคจิตเภท สำหรับโรคขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ (Hypothyroidism ) ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยชา ความจำเสื่อม อารมณ์เฉยเมย ไม่อยากพูด ประสาทหลอน และมีอาการซึมเศร้า
อุบัติเหตุทางสมอง เมื่อสมองได้รับอุบัติเหตุ เช่น กระโหลกศีรษะได้รับอุบัติเหตุ กระโหลกศีรษะฟาดพื้นหรือของแข็ง และสมองได้รับความกระทบกระเทือนมากจนเกิดพยาธิสภาพของเซลล์สมอง หรืออาจมีเลือดออกภายในเนื้อสมองจนเลือดไปกดดันเนื้อเยื่อของสมองย่อมทำให้เซลล์ของสมองเสื่อมไปตามความรุนแรงของอุบัติเหตุ และพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความผิดปกติ และความแปรปรวนของจิตได้
สารพิษต่าง ๆ ถ้าร่างกายได้รับสารพิษ เช่น กัญชา มอร์ฟีน เฮโรอีน ฝิ่น โคเคอีน ยานอนหลับ แอมแฟตตามีน( ยาบ้า ) เมื่อใช้สารต่าง ๆ เหล่านี้จนติด หากไม่ได้กินหรือเสพจะทำให้เกิดอาการแปรปรวนของจิตได้ เช่น หงุดหงิด ทุรนทุราย หาวนอน ประสาทหลอน หมดความละอาย ก้าวร้าว ชอบทะเลาะวิวาท คุมสติไม่อยู่และมักทำร้ายร่างกายผู้อื่น
โรคพิษสุราเรื้อรัง สุรามีสารที่สำคัญคือแอลกอฮอล์ เมื่อแอลกอฮอล์อยู่ในกระแสเลือดสามารถทำลายเซลล์ของสมองให้เสื่อมลงตามลำดับ ถ้าดื่มสุรามากและดื่มทุกวันสมอง จะเสื่อมมากขึ้น จนเกิดความวิปริตทางจิต หรือเกิดโรคจิตได้หลายอย่าง เช่น มีอาการพลุ่งพล่าน อาละวาด ดุร้ายจนถึงขั้นทำร้ายร่างกาย และทำลายชีวิตผู้อื่นได้
การทำงานหนักเกินกำลัง การทำงานหนักเกินกำลังของตนเองทุก ๆ วันจะก่อให้เกิดความเครียด ความกังวล ความหงุดหงิด คิดมาก นอนไม่หลับ อ่อนเพลียจนเกิดความสับสน และตัดสินใจผิดพลาด ทำให้เกิดปฏิกริยาทางจิตใจและเป็นเหตุของโรคประสาทได้
สาเหตุทางจิตใจ
เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการด้านจิตใจอยู่เสมอตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ความต้องการดังกล่าวคือ ความต้องการพื้นฐานที่เป็นแบบแผนเดียวกันกับทฤษฎีของมาสโลว์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 ต้องการทางด้านร่างกาย เช่น ต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ต้องการความปลอดภัย ไม่ต้องการให้ชีวิตได้รับอันตราย
ขั้นที่ 3 ต้องการความรัก เช่น ความรักจากพ่อแม่ เพื่อน เป็นต้น
ขั้นที่ 4 ต้องการมีชื่อเสียง เช่น อยากให้เป็นที่รู้จักของสังคม
ขั้นที่ 5 ต้องการประสบความสำเร็จ เช่น ประสบความสำเร็จด้านการประกอบอาชีพด้านการเรียน เป็นต้น
ในความต้องการพื้นฐานทั้ง 5 ขั้นดังกล่าว บางคนก็สมปรารถนาทุกขั้น บางคนก็ได้เพียง 2-3 ขั้น และกว่าจะได้ตามความต้องการก็จะพบกับอุปสรรคมากมาย แม้จะต่อสู้ก็ไม่สมกับที่หวังไว้และไม่อาจทำใจได้ หรือทำให้เกิดความผิดหวังรุนแรง เกิดความทุกข์ความไม่สบายใจเป็นเวลานาน จนอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิต หรือเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
ความผิดหวังรุนแรง คนที่ไม่เคยผิดหวัง เมื่อมาผิดหวังย่อมทำให้เกิดอารมณ์เศร้าและเสียใจได้มาก เช่น สอบไล่ตก สอบเข้าทำงานไม่ได้หรืออกหัก บางครั้งต้องร้องไห้อยู่คนเดียว มีอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย กินข้าวไม่ได้ หงุดหงิด
การสูญเสียบุคคลที่รัก การสูญเสียบิดามารดาและบุคคลที่ตนรัก เป็นเหตุให้เกิดความ เสียใจอย่างรุนแรง จนมีอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ หดหู่ใจ หงุดหงิดโกรธง่ายกว่าธรรมดา รู้สึกท้อแท้และเบื่อชีวิต
การตัดสินใจผิด ทุกคนที่มีความคิด ต่างก็คิดว่าตนได้คิดดีและตัดสินใจดีที่สุดแล้ว แต่กลับได้รับความล้มเหลวและความเสียหายจากการตัดสินใจของตนเอง เช่นเดียวกับการสอบไล่ตก จึงทำให้เกิดอารมณ์เศร้า และหมดความสุข มีความเสียใจเศร้าอย่างรุนแรง
การสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง การสูญเสียทรัพย์สินเงินทองมาก ๆ ของคนบางคนรุนแรง พอ ๆ กับการสูญเสียบุคคลที่ตนรัก เพราะจิตใจมุ่งมั่นอยู่แต่เรื่องทรัพย์สินของตน และส่วนมากมีแต่ทางได้เงินมามาก ๆ เสมอ ครั้นมาสูญเสียครั้งเดียวและเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้เสียใจมาก คิดมาก ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ
ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล
แบ่งออกเป็น 6 ประการ ได้แก่
สาเหตุจากครอบครัวและสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ ลูก บุคคลที่ไม่ได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ อยู่ในครอบครัวที่ไม่มีความสุข ไม่ได้รับประสบการณ์ของสัมพันธภาพที่ดีจากครอบครัว เมื่อโตขึ้นจึงไม่สามารถปรับตัวได้ จิตใจไม่เข้มแข็ง ไม่สามารถเผชิญปัญหา และอุปสรรค์ต่าง ๆ ของชีวิตซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต
สาเหตุจากฐานะเศรษฐกิจ เงินเป็นปัจจัยสำคัญ หากครอบครัวใดไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้สมดุลกับรายจ่ายได้ จึงเกิดหนี้สินก็กระทบกับสุขภาพจิตของครอบครัวได้
การขาดการศึกษาอบรม การขาดการศึกษาอบรมสั่งสอนที่ดี ทำให้ชีวิตหมกมุ่นอยู่แต่ในความมืดมน หมดหวังย่อมทำให้จิตใจหดหู่เกิดความเสื่อมของสมองเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้
สภาพชีวิตสมรสหรือชีวิตโสดที่มีปัญหายุ่งยาก ในชีวิตสมรสมีปัญหาเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ความขัดแย้ง การตั้งครรภ์ การมีบุตร สิ่งเหล่านี้นำปัญหาเข้ามาในชีวิตสมรส ถ้าทางออกไม่ได้ก็จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต สำหรับคนเป็นโสดอาจเกิดปัญหา เช่น ว้าเหว่ขาดเพื่อน เหงา คิดมาก นอนไม่หลับ เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน
สาเหตุจากสภาวะการณ์แวดล้อมต่าง ๆ เหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงวัยต่าง ๆ ที่คนต้องปรับตัวตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ ถ้าปรับตัวไม่ได้ก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต นอกจากนั้นการประสบภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้จะมีผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้
สาเหตุจากวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคม ในสังคมปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และค่านิยมอย่างรวดเร็ว เด็กและวัยรุ่น มักรับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนใหม่ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะเกิดความขัดแย้งกับผู้ใหญ่ ทำให้ผู้ใหญ่ไม่พอใจ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
อาการแสดงออกของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต
ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจะมีอาการที่ตนรู้สึกได้เอง หรือจะแสดงอาการที่ผู้อื่นสังเกตได้แต่ตนเองไม่รู้ว่ามีปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่
1. อาการทางกาย มีอาการเจ็บป่วยทางกาย เช่น ความกังวลทำให้ระบบหัวใจผิดปกติ มีอาการใจสั่น ใจเต้น แสดงอาการหอบ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ความกังวลทำให้รับประทานอาหารไม่ได้หรือรับประทานอาหารมากเกินไป นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ เป็นลม ชักเกร็ง ปวดข้อ ปวดหลัง เป็นต้น
2. อาการทางใจ มีอาการแสดงออกทางความรู้สึก ความคิด อารมณ์ ความจำ สมาธิ เช่น
     2.1 ด้านความรู้สึก ได้แก่ รู้สึกไม่สบาย น้อยใจ ไม่รักใคร หลงตัวเอง
                             2.2 ด้านความคิด ได้แก่ หมกมุ่น ฟุ้งซ่าน สับสน คิดมาก หลงผิด ประสาทหลอน หูแว่ว เบื่อชีวิต คิดอยากตาย มีความคิดแปลก ๆ
                              2.3 ด้านอารมณ์ ได้แก่ ซึมเศร้า กังวล อารมณ์อ่อนไหว เปลี่ยนแปลงง่าย ครื้นเครงมากเกินไป อารมณ์ไม่เหมาะสม ไม่มีสมาธิและความจำเสื่อม
3. อาการทางพฤติกรรม มีการแสดงออกแตกต่างจากปกติหรือลักษณะทางสังคมไม่ยอมรับ เช่น ก้าวร้าว ทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายผู้อื่น แยกตัว ติดยาเสพติด ประพฤติผิดทางเพศ เจ้าระเบียบเกินไป ย้ำคิด ย้ำทำ พึ่งพาผู้อื่น แต่งกายไม่เหมาะสมกับเพศและวัย ลักขโมย พูดปด เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพจิตที่แสดงออกทางพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมทางเพศพวกนี้จะไม่สามารถเก็บกดความรู้สึกได้ เมื่อมีโอกาสเวลาใดจะมีความต้องการอย่างผิดปกติและรุนแรงแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ได้แก่
- Homosexual รักร่วมเพศ สนใจเพศเดียวกัน
- Incest มีความสัมพันธ์ทางเพศกับสายโลหิตเดียวกัน
- Pedophillia การชอบร่วมเพศกับเด็กเล็ก ๆ
- Best- tiolity ความรู้สึกรักใคร่ในสัตว์เดรัจฉาน
- Satyiasis ความรู้สึกมักมากในทางกามารมณ์ ชอบมีความรู้สึกแปลก ๆ
- Nymphomania หญิงที่มีความรู้สึกทางอารมณ์จัด
- Exhibitionism ชอบอวดอวัยวะเพศให้เพศตรงข้ามดู
- Sadism เพศชายที่ชอบกระตุ้นโดยการทารุณเพศตรงข้าม
- Masochism เพศหญิงที่ชอบให้ฝ่ายตรงข้ามทำให้เจ็บปวดทรมาน
- Kleptomania พวกที่ชอบขโมยหรือสะสมกางเกงใน เสื้อชั้นในหญิงสาว
4. การเจ็บป่วยทางจิต มีอาการเจ็บป่วยทางจิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
โรคประสาท (Neurosis or Psychoneurosis) เป็นความผิดปกติของจิตใจค่อนข้างรุนแรง มีความวิตกกังวลเป็นอาการหลักร่วมกับอาการทางจิตอื่น ๆ จากสภาพจิตใจที่อ่อนแอไม่สามารถทนต่อความคับแค้นของสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติ อยู่ในกรอบของสังคมได้ ประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลง จะมีอาการนานเกินหนึ่งเดือน สามารถรักษาให้หายหรือทุเลาได้ อาการของโรคแบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ
1.    วิตกกังวลมาก (Anxiety) โดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการทางกายและทางใจร่วมด้วย
2.     อาการชักกระตุกหรือเกร็งคล้ายผีเข้า
3.     อาการหวาดกลัว (Phobic disorder) เกิดความกลัวฝังแน่นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงโดยไม่มีเหตุผล
4.      ย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive disorder) ทำซ้ำ ๆ คิดซ้ำ ๆ เป็นเวลานานทั้งที่รู้ตัวแต่ควบคุมไม่ได้
5.      เสียใจ ซึมเศร้าเกินกว่าเหตุ (Neurotic depressive) จิตใจจดจ่อยู่กับเรื่องราวที่ได้รับความสะเทือนใจ มากกว่าที่ควรจะเป็น
6.      อ่อนเพลีย เบื่อหน่าย
7.       หมกมุ่นอยู่กับความเจ็บป่วยของตนเอง
โรคจิต (Psychosis) เป็นความผิดปกติของจิตใจขั้นรุนแรง ไม่สามารถประกอบภารกิจการงานได้ ไม่ทราบว่าตนเองมีความผิดปกติ ไม่สามารถช่วยตนเองในการดำรงชีวิตประจำวันได้ ไม่สามารถรับรู้สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันได้ ไม่ทราบว่าตนเองเป็นใคร บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิมจำเป็นต้องได้รับการรักษา อาการของโรคจิตแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 6 กลุ่ม คือ
1.      คลุ้มคลั่ง เอะอะ อาละวาด เกรี้ยวกราด ดุร้าย
2.      ยิ้มคนเดียว พูดพึมพำ เดินไปมา
3.      ประสาทหลอน (Hallusination) ได้ยินเสียงคนมาพูดคุยด้วยโดยไม่มีตัวตน เห็นภาพแปลก ๆ
4.      หลงผิด (Delusion) หวาดระแวง กลัวถูกทำร้าย
5.      ซึมเฉย แยกตัวเอง ไม่พูดกับใคร
6.      อาการหลาย ๆ อย่าง บางครั้งเอะอะ บางครั้งซึมเฉย บางรายมีอาการหลงผิด หวาดกลัวประสาทหลอน

ใบงาน
เรื่อง ความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต 

ตอบคำถามพัฒนาการคิดเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างสุขภาพกาย และสุขภาพจิตจัดทำเป็นรายงานแล้วนำเสนอครูผู้สอน
                   1.      ปัจจัยพื้นฐานสำคัญของสุขภาพที่ดีเป็นอย่างไร
ตัวชี้วัด     1.      วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต  (พ 4.1 ม.2/4)
แนวคำตอบ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   2.      ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะมีลักษณะอย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต (พ 4.1 ม.2/4)
แนวคำตอบ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   3.      องค์ประกอบที่สำคัญที่มีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีเป็นอย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต (พ 4.1 ม.2/4)
แนวคำตอบ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   4.      นักเรียนสามารถสำรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองได้อย่างไร
ตัวชี้วัด     วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต (พ 4.1 ม.2/4)

แนวคำตอบ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................